วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

100 ปี ธงชาติไทย: 4 เรื่องราวเกี่ยวกับธงไตรรงค์ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เมื่อเวลา 8.00 น. ของวันนี้ (28 ก.ย.) หน่วยงานราชการในประเทศไทยต่างพร้อมกันจัดกิจกรรมเคารพธงชาติ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีของธงไตรรงค์
แต่ธงชาติไทยนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และเพราะอะไรจึงมีรูปร่างหน้าตาแบบที่ใช้กันทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของธงไตรรงค์นั้นต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงปีที่เกิดเหตุน้ำท่วมหนักในประเทศสยาม

เสาธงชาติหน้ากระทรวงกลาโหมImage copyrightWASAWAT LUKHRANG/BBC THAI

1.ก่อนหน้าธงไตรรงค์
ธงชาติเป็นแนวคิดของตะวันตก ที่มีรากเหง้าจากความคิดเรื่องชาติที่มีลักษณะเป็น "รัฐ" คือมีขอบเขตที่แน่นอน มีประชาชนที่เชื่อว่าตัวเองสืบทอดมาจากรากเหง้าเดียวกัน และมีผู้ปกครองที่มีหน้าที่สืบสานเพื่อคงความเป็นรัฐนั้นไว้ และธงชาติเพื่อแสดงถึงความเป็นรัฐชาตินั้นๆ
สมัยอยุธยายังไม่มีแนวคิดเรื่องความเป็นรัฐชาติอย่างในปัจจุบัน จึงไม่มีแนวคิดใช้ธงเพื่อเป็นตัวแทน อย่างไรก็ตามในหนังสือเรื่องธงไทยของ ฉวีงาม มาเจริญระบุไว้ว่าการค้าขายทางเรือในสมัยอยุธยาเฟื่องฟู และเรือสินค้าก็มักใช้ธงประจำชาติของตนเองเพื่อแสดงว่าเป็นเรือสินค้า เรือสินค้าของไทยนั้นใช้ธงของฮอลแลนด์เพราะเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่เมื่อเกิดเรื่องกับฝรั่งเศสที่เป็นศัตรูกับฮอลแลนด์ขึ้นมา ไทยก็จึงหันมาใช้ธงพื้นสีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของเรือไทย
ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 จึงได้เพิ่มจักรสีขาวลงในผ้าพื้นแดงเพื่อให้เห็นว่าเรือของหลวง และในรัชกาลที่ 2 จึงโปรดเกล้าให้เพิ่มช้างเข้าไปในวงจักรของเรือหลวงเพราะทรงได้ช้างงามมาหลายเชือก แต่เรือพ่อค้าธรรมดายังคงใช้ธงแดงเหมือนเดิม
หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ช้างเผือกประดิษฐานลงกลางผืนธงสีแดง เรียกว่า ธงช้างเผือก เพื่อให้ใช้เป็นธงชาติไทย

ธงชาติไทยหน้าอาคารImage copyrightBBC THAI

2. แนวคิดกำเนิดธงไตรรงค์
ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสวัดสะแกกรังในจังหวัดอุทัยธานีซึ่งกำลังประสบอุทกภัย และได้ทอดพระเนตรเห็นว่ามีชาวบ้านจำนวนน้อยนักที่จะหาธงชาติมาประดับได้เพราะธงชาติแบบช้างเผือกทรงเครื่องอยู่นั้นมีราคาแพง และส่วนบ้านที่มีธงประดับก็ยังกลับหัวไม่น่าดู ตามบันทึกของ จมื่นอมรดรุณารักษ์ หรือ แจ่ม สุนทรเวช ในหนังสือ "วชิราวุธานุสสรณ์ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖"
หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำริให้เปลี่ยนมาใช้ธงริ้วสลับสีขาวแดง 5 แถบ ซึ่งจะสามารถผลิตได้ง่ายขึ้นในประเทศและช่วยแก้ปัญหาธงกลับหัวให้หมดไปได้
ธงริ้วขาวแดงได้ถูกนำมาทดลองติดที่สนามเสือป่าอยู่ช่วงหนึ่ง จนกระทั่ง พ.ศ. 2460 มีผู้ใช้นามแฝงว่า "อะแควเรียส" เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพฯ เดลิเมล์ แสดงความเห็นไม่เห็นด้วยกับรูปแบบของธงชาติ และเสนอให้เปลี่ยนแปลงโดยให้เพิ่มสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีส่วนพระองค์ของรัชกาลที่6 เข้าไป และเมื่อไทยเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้เป็นไตรรงค์
ในพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2460 ในวันที่ 28 กันยายน ซึ่งมีข้อความว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ธงริ้วขาวแดงนั้น "ยังไม่เปนสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรจะเพิ่มสีน้ำเงินแก่เข้าอีกสีหนึ่ง เพื่อให้เปนสามสีตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เปนสัมพันธมิตรกับกรุงสยามได้ใช้อยู่โดยมา เพื่อให้เป็นเครื่องหมายปรากฎว่า ประเทศสยามได้เข้าร่วมสุกทุกข์ แลเปนน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่"

สยามประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี 22 ก.ค. 1917Image copyrightTHE NATIONAL ARCHIVES
คำบรรยายภาพสยามประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี 22 ก.ค. 1917

3.ผู้ออกแบบธงไตรรงค์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ม.ล.เฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นผู้ออกแบบธงชาติไทย หลังจากพระยาประสิทธิ์ศุภการได้ออกแบบมา ก็เป็นที่พอพระทัยของพระองค์และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาท และก็ได้นำแบบนั้นมาเป็นรูปแบบธงตามที่ระบุในพระราชบัญญัติธง พ.ศ.2460 ให้กำหนดใช้ธงไตรรงค์มาจนถึงปัจจุบัน
พระยาประสิทธิ์ศุภการภายหลังได้ยศเป็นเจ้าพระยารามราฆพ และนับเป็นเจ้าพระยาที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ด้วยวัยเพียง 31 ปี

ภาพภาพฝีพระหัตถ์ ชนิด ภาพล้อเส้นหมึก พ.ศ.2461 62 63Image copyrightBBC THAI
คำบรรยายภาพภาพพระยาประสิทธิ์ศุภการ ถ่ายจากหนังสือหนังสือ "ภาพฝีพระหัตถ์ ชนิด ภาพล้อเส้นหมึก พ.ศ. 2461 62 63"

4.ร้านธงไตรรงค์สำเร็จรูปร้านแรกของเมืองไทย
ร้านขายธงไตรรงค์สำเร็จรูปร้านแรกในเมืองไทยคือ ร้านคลังเสาธง หรือในปัจจุบันชื่อว่าร้านธงร่มโพธิ์
ขวัญใจ ไอสันเทียะ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านรุ่นที่สามเล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า ร้านนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อเจ็ดสิบกว่าปีโดยหลวงสิทธิบรรณาการ ซึ่งรับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6
หลังเกษียณอายุราชการหลวงสิทธิบรรณาการก็คิดว่าเมื่อมีความต้องการธงไตรรงค์มาประดับสถานที่ก็ต้องไปสั่งร้านทำเครื่องสังฆทานเย็บเป็นคราว ๆ ไป จึงได้คิดตั้งร้านธงสำเร็จรูปเป็นร้านแรกชื่อว่า "คลังเสาธง" ขายทั้งผืนธงและเสาธงด้วย จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นร้านเสาธงชาติ
พอถึงรุ่นลูกซึ่งเป็นสามีของคุณขวัญใจก็ร้าน "คลังเสาธง" ก็เปลี่ยนชื่อร้านมาเป็น "บรรณาการ" อันเป็นราชทินนามของพ่อ และเมื่อสามีเสียชีวิต คุณขวัญใจรับสืบทอดธุรกิจแทนก็จึงเปลี่ยนชื่อร้านเป็น "ธงร่มโพธิ์" เพราะร้านอยู่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่ข้างกำแพงวัดบวรนิเวศวิหารบนถนนพระสุเมรุ
หลังจากนั้นจึงมีร้านธงอื่น ๆ มาตั้งตามมาจนทำให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าถนนพระสุเมรุหรือสะพานวันชาติเป็นแหล่งซื้อธงชาติทั่วไป

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

10 วิธีแพ็คกระเป๋าเดินทางแบบมืออาชีพ เรียนรู้ไว้รับรองไม่ผิดหวัง!!

เคล็ดลับน่ารู้เกี่ยวกับการจัดกระเป๋าเดินทางนี้ไม่ใช่เรื่องยากและเยอะเลย ลองทำบ่อยๆ ให้เป็นนิสัย แล้วจะรู้ว่าที่เรากล่าวนี้ มันแค่นิดเดียวจริงๆ นะ.. ว่าแล้วก็เก็บกระเป๋าไปเที่ยวกันเลยค่า


1. ไม่ควรพับเสื้อ แต่ควรม้วนเสื้อ จะทำให้เก็บเสื้อผ้าได้เยอะกว่า และเสื้อผ้าจะยับน้อยกว่า
* สำหรับผู้หญิง เคล็ดลับนี้อาจจะยุ่งยากหน่อย เพราะเราไม่ได้อยากใส่แต่เสื้อยืดนี่นา เราอยากใส่เสื้อผ้าสวยๆ มีเท็กเจอร์นู่นนี่นั่นถ่ายรูปสวยๆ ดังนั้นการม้วนเสื้อแล้วประหยัดพื้นที่นี้จึงอาจจะใช้งานได้จริงเพียงบางส่วน (แล้วไหนจะบราของเราอีกล่ะ เปลืองพื้นที่เพราะฟองน้ำสุดๆ เลยนะ)

2. ใช้ถุงสูญญากาศ ในการเก็บของชิ้นใหญ่ๆ เช่น เสื้อผ้ากันหนาว จะทำให้ประหยัดพื้นที่ได้อีกเยอะเลยค่ะ นอกจากนี้เรายังจะได้ใช้ถุงสูญญากาศในการแพ็คเก็บเสื้อผ้าที่ใช้แล้วให้เรียบร้อยได้อีกด้วย

3. ใช้หลักการเก็บของแบบ พิรามิด นั่นคือ วางของใหญ่ๆ ไว้ด้านล่างแล้วค่อยเรียงสิ่งของเล็กๆ ไว้ด้านบน ตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากมีกางเกงยีนส์ กางเกงขายาว ให้วางเรียงยาวตามแนวยาวของกระเป๋าเดินทาง โดยไม่ต้องม้วนพับ จากนั้นให้วางเสื้อผ้าที่ม้วนแล้วของเราเอาไว้ในช่องตรงกลาง จากนั้นค่อยพับขากางเกงมาไว้ตรงกลาง วิธีนี้จะทำให้ขากางเกงเราเป็นเหมือนที่ห่อหุ้มสิ่งของตรงกลางกระเป๋าได้เลยค่ะ


4. พกเสื้อกันฝน ดีกว่าพกร่ม ทั้งเบากว่า ประหยัดพื้นที่มากกว่า จะซื้อแบบใช้แล้วทิ้งก็ดี เผื่อมีพื้นที่กระเป๋าไม่เพียงพอ เราจะได้ทิ้งเสื้อกันฝนนั้นได้เลย

5. ซื้อเครื่องสำอางค์หรือครีมบำรุงต่างๆ ขนาดสำหรับเดินทาง เป็นเรื่องพื้นฐานที่คงไม่ต้องบอกกันแล้วเนอะในข้อนี้ ^^ ไม่จำเป็นต้องซื้อที่บรรจุใหม่ เราอาจจะใช้ยี่ห้อเดิมนั้น แต่ลองซื้อขนาดทดลองมาไว้ใช้ เมื่อใช้หมดแล้วก็เอากล่องนั้นไว้เติมครีมบำรุงสำหรับพกพา หรือจะแบ่งใส่ตลับคอนแทคเลนส์ก็สะดวกดีค่ะ

6. ของกระจุกกระจิกต่างๆ เก็บยังไง? ม้วนถุงเท้าใส่ไว้ในรองเท้า จะได้หาไม่ยาก, เก็บต่างหู แหวน สร้อย ไว้ในกล่องเก็บยาที่แบ่งเป็นช่องๆ, ม้วนสายชาร์ต USB ต่างๆ ไว้ในกล่องใส่แว่นตา เหล่านี้จะทำให้ของเรามีระเบียบมากยิ่งขึ้น



7. ชุดสุดหรู เสื้อสูท ควรเก็บไว้แบบนี้ค่ะ เก็บไว้ในถุงเก็บเสื้อที่มีไม้แขวนพร้อม ไม่ควรยัดลงไปในกระเป๋าแน่นๆ ของเรา (ในกรณีที่เอาชุดหรูไปด้วยไม่กี่ตัวนะคะ)

8. อย่าพกยามากเกินความจำเป็น เลือกเพียงบางส่วนที่จำเป็นจริงๆ ที่ขาดไม่ได้ และเพียงพอสำหรับเหตุฉุกเฉิน * รวบรวมเก็บยาเหล่านี้ไว้ในถุงซิปล๊อค อย่าให้กระจัดกระจาย และอย่าลืมระบุไว้ดีๆ ว่ายาไหนใช้กับอะไร

9. อย่าปล่อยให้กระเป๋าเดินทางมีพื้นที่ว่าง เพราะจะทำให้ของในกระเป๋าเดินทางของเรากระจัดกระจายได้ง่ายๆ หากมีพื้นที่ว่าง ควรยัดกระดาษขยำๆ ให้เต็มพื้นที่ หรือจะใช้หมอนรองคอหรืออะไรก็ได้ที่เป็นแบบเป่าลมเติมเข้าไป หากขากลับจะต้องใช้พื้นที่เหล่านั้น เราก็แค่เอาลมออก , การยัดตุ๊กตาไปด้วยจะดีแต่ขาไป ส่วนขากลับนั้นเราอาจจะช๊อปปิ้งจนกระเป๋าตุงได้


10. เลือกแต่ของที่จำเป็นจริงๆ เอกสาร คู่มือต่างๆ บางอย่างนั้นเราสามารถ Scan เก็บไว้ในโทรศัพท์ของเราได้ ไม่ต้องขนไปให้หนักกระเป๋า ถ้าจะให้ดีควรส่งเข้าอีเมล์เราไว้ด้วย หากมือถือหายไปเรายังอาจจะหาอินเตอร์เน็ตเพื่อดึงข้อมูลนี้มาได้, ไดร์ฟเป่าผม หน้ากากใส่ดำน้ำนั้นเราสามารถไปหาที่ปลายทางได้ค่ะ เน้นเดินทางแบบตัวเบาๆ เที่ยวสนุกๆ ก็พอนะ
และส่งท้ายอีกเล็กน้อย กับเคล็ดลับดีๆ
– ม้วนหูฟังแล้วหาสายรัด หรือจะเก็บไว้ในถุงผ้าเล็กๆ ก็ดีนะคะ ทำให้สายไม่พันกันด้วยค่ะ
– ของที่แตกหักง่าย เก็บไว้ในรองเท้า จะทำให้ลดแรงกระแทกได้เยอะเลยนะคะ
– รองเท้าสกปรก แถมลืมเอาถุงพลาสติกพกไปด้วย ก็มองหาหมวกอาบน้ำในห้องน้ำโรงแรมเลยค่ะ เอามาครอบรองเท้าเรา
– ป้องกันชุดชั้นในไม่ให้หักงอ จะเอาถุงเท้าม้วนใส่ช่องว่างก็ดีนะคะ (ถุงเท้าสะอาดๆ น๊า)
* ทำรายการสิ่งของที่ต้องใช้ ที่จำเป็น จดไว้เป็นข้อๆ จะได้ไม่พลาดของที่ต้องการ
* ตรวจสอบสถานที่ปลายทาง และฤดูกาลให้เหมาะสม เราจะได้เตรียมสิ่งของไปแต่พอดี

ตัวอย่าง Essay ของ 2 นักเรียนทีผ่านการคัดเลือกให้เข้าเรียน Maryland’s Johns​ Hopkins University

การสมัครเข้าเรียนต่อในต่างประเทศ “essay” ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นตัวตัดสินได้เลยว่า เพื่อนๆจะได้เข้าเรียนกับทางมหาวิทยาลัย หรือจะต้องผิดหวัง

โดยทั่วไปนักศึกษาจะไม่มีโอกาสได้นำเสนอเกี่ยวกับเรื่องราวของตัวเอง เช่น เกรด รวมไปถึงการได้กิจกรรมนอกหลักสูตรต่างๆ ผ่าน recommendation letter มากนัก

ซึ่ง essay นี้เองก็จะเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยคาดหวังและเปิดโอกาสให้ว่าที่นักศึกษาแต่ละคน ได้แสดงให้ทางมหาวิทยาลัยเห็นถึงแรงบันดาลใจและความคิดความอ่านของตัวเองครับ

maryland-baltimore-johns-hopkins-university

Essay ทั้ง 2 ชิ้นที่เพื่อนๆจะได้เห็นข้างล่างนี้ เป็น essay ที่ได้ช่วยให้นักศึกษา 2 คนผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนต่อที่ Maryland’s Johns​ Hopkins University ซึ่งมีเรทการรับนักศึกษาอยู่ที่ประมาณ 12% ของผู้สมัครทั้งหมดเพื่อเข้าเรียนในฤดูใบไม้ร่วงปี 2015 นี้

นอกจากนี้ ด้านข้างของ essay จะมีจุดวงกลมอยู่ เพื่อนๆสามารถนำเม้าส์ไปชี้เพื่อนดูคำแนะนำจาก Ellen Kim ผู้อำนวยการของการรับสมัครระดับปริญญาตรี ว่าส่วนนั้นมีความน่าสนใจอย่างไรที่ทำให้ essay ทั้ง 2 ชิ้นนี้เข้าตาคณะกรรมการได้ครับ

Made with
LEARN MORE